ภาคเหนือ
ภาคเหนือ...... ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา
และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหารคนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด
อาทิน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว
ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม
หรืออย่างตำขนุนแกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
ภาคใต้
ภาคใต้..... เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย
เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเลอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเลอาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้มักเกี่ยวข้องกับปลาและสิ่งอื่น
ๆจากท้องทะเลอาหารทะเลหรือปลาโดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด
อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลยเพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนักฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง
ๆ แทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอดก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น
และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง
เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆอย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้
เรียกว่าผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด
ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่างบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับ ภาคกลาง เช่น
มะเขือเปราะถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ
แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้นการเสิร์ฟผักเหนาะ
กับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้าย ๆ กันหรืออาจเป็นผัก ที่ผู้รับประทานชอบก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น